Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โอเลี้ยง

โอเลี้ยง
คนไทยโดยมากจะถือว่า “โอเลี้ยง” คือ "กาแฟดำเย็น" แต่ที่จริงแล้ว ส่วนผสมของ "โอเลี้ยง" จะใกล้กับ "น้ำเชื่อม" มากกว่า "กาแฟ" โอเลี้ยงทั่วไปที่ขายตามท้องตลาด ประกอบไปด้วยน้ำเชื่อมถึง 40-50% ในขณะที่มีกาแฟเพียงไม่ถึง 25% ซ้ำร้าย บางครั้งผู้ขายอาจใช้ส่วนผสมอื่นเช่นถั่วหรืองาคั่วแทนกาแฟ

หลายต่อหลายคนต่างก็เคยดื่มเครื่องดื่มที่ชื่อว่า “โอเลี้ยง” แล้วเมื่อดื่มเสร็จทุกคนมักจะเกิดควาสงสัยว่าจริงๆๆแล้ว โอเลี้ยงนั้นทำจากอะไรกันแน่ ?

โอเลี้ยง : เป็นคำที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว
“โอ” แปลว่า ดำ “เลี้ยง” แปลว่า เย็น รวมแล้วหมายถึง สิ่งที่มีสีดำและเย็น ก็คือ กาแฟดำเย็น

โอเลี้ยง

โอ เลี้ยง ทำมาจากผงกาแฟ ที่ใช้ชงกาแฟโบราณ ซึ่งถ้าไปดูส่วนประกอบกันจริงๆ แล้ว ได้จากการ นำ เมล็ดกาแฟบด และส่วนผสมอย่างอื่นด้วย ไม่ใช่เมล็ดกาแฟเพียงอย่างเดียว เช่น เมล็ดข้าวโพด เมล็ดมะขาวที่คั่วแล้ว เป็นต้น ถ้าใส่น้ำแข็งก็เป็นโอเลี้ยง ไม่ใส่น้ำแข็งก็เป็นโอวยั๊วะ ( อันนี้กระผมก็เพิ่งรู้ว่ามันต่างกันตรงนี้เอง คนอื่นอาจรู้แล้ว

ส่วน กาแฟดำที่ส่วนใหญ่นิยมดื่มกัน มาจากการนำ กาแฟผง หรือ กาแฟสำเร็จรูปแบบเกล็ด (instant coffee) มาละลายด้วยน้ำร้อน หรือ เรียกว่าชง โดยจะเติมน้ำตาลหรือไม่ก็ได้

บางท่านอาจสรุปได้ดังนี้คือ

กาแฟ ดำ หรือ จีนแต้จิ๋ว เรียก โอวยั๊ว หรือบางคนเรียกเต็มยศว่า โกปี่โอว (โกปี้ = กาแฟ,โอว = ดำ) [โกปีโก้ = =a เอามาจากนี้รึเปล่าน้า]

👉กาแฟดำ + น้ำแข็ง = โอเลี้ยง
👉กาแฟดำ + นมข้น = โกปี๊
👉กาแฟดำ + น้ำแข็ง + นมสด = โอเลี้ยงยกล้อ
👉กาแฟดำ + นมข้น + น้ำแข็ง + นมสด = กาแฟเย็น

การทำน้ำโอเลี้ยง
ส่วนผสม

ผงโอเลี้ยง 400 กรัม
น้ำตาลทราย 500 กรัม
น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
ผ้าขาวบาง

วิธีทำ
ต้มน้ำให้เดือด นำผงโอเลี้ยงไปละลายกับน้ำ คนจนละลาย
ผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำ ต้มต่อไปอีกประมาณ 15 นาที
นำโอเลี้ยงที่ต้มได้นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง 2 ครั้ง
ได้น้ำโอเลี้ยง เสิร์ฟพร้อมน้ำแข็งตามใจชอบครับ
เรียบเรียงข้อมูลโดยmanman 

รายการบล็อกของฉัน