Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กาแฟขี้ช้างอร่อยหอมหวลชวนดมชวนดื่ม

กำลังละเลงขี้ช้างเพื่อหาเมล็ดกาแฟ
กาแฟขี้ชัาง
ก่อนจะมาเป็น “กาแฟขี้ช้าง” กาแฟที่มีราคาแพงที่สุดในโลกกาแฟขี้ช้าง กาแฟชนิดพิเศษที่ผลิตในประเทศไทยที่เดียวในโลกขณะนี้ มีความพิเศษอย่างไร จึงเป็นกาแฟที่มีราคาแพงที่สุดในโลกด้วย โดยมีสนนราคาอย่างต่ำถึงกิโลกรัมละ 45,000 บาท

บีบีซีไทยได้คุยกับคุณเบลค ดินคิน ชาวแคนาดา ผู้ริเริ่มผลิตกาแฟขี้ช้าง ภายใต้ชื่อการค้า “แบลค ไอวอรี คอฟฟี” ดังนี้
คุณเบลคเล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ ได้ลองผิดลองถูกมามาก โดยเขาได้แนวคิดเรื่องการผลิตกาแฟที่ใช้กระบวนการย่อยของสัตว์เป็นที่บ่มเมล็ดกาแฟ ตั้งแต่ตอนอยู่ที่แคนาดาแล้ว โดยเมื่อปี 2545 นั้นเป็นครั้งแรกที่เขาได้อ่านเรื่องกาแฟขี้ชะมดที่ผลิตในอินโดนีเซีย เขาจึงไปลองทำดูบ้างในประเทศเอธิโอเปียเป็นเวลาหนึ่งปี แต่หลังจากนั้นก็พบปัญหาว่า มีการปลอมกาแฟขี้ชะมดเกิดขึ้นมาก 

โดยเกษตรกรเพียงแค่นำเมล็ดกาแฟไปคลุกกับมูลชะมด แล้วอ้างว่าเป็นกาแฟที่ผ่านกระบวนการย่อยและขับถ่ายของชะมด แต่การทำกาแฟขี้ชะมดจริงๆ จะต้องให้ชะมดกินผลหรือลูกกาแฟที่มีเมล็ดกาแฟเข้าไปและอาศัยเอ็นไซม์ในกระบวนการย่อย ทำให้เมล็ดกาแฟที่ได้ออกมา มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ 

กวนหาขี้ช้าง
นอกจากนั้นช่วงเวลาดังกล่าวยังมีปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) ซึ่งชะมดเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งมีเรื่องจริยธรรมและสิทธิสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง สินค้าที่ผลิตออกมาจึงไม่ได้เป็นสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและหลักจริยธรรมเท่าใดนักหลังจากที่เลิกผลิตกาแฟขี้ชะมดไป เขาได้อ่านข่าวพบว่า ช่วงหน้าแล้งมักมีช้างป่าในแอฟริกาตะวันตกและเอเชียใต้ เข้าไปทำลายไร่กาแฟ กินผลและเมล็ดกาแฟของเกษตรกร เรื่องรุนแรงถึงขั้นมีการฆ่าช้างเกิดขึ้น ทำให้คุณเบลครู้ว่า ช้างก็กินกาแฟด้วย เขาจึงกลับไปแคนาดาและทดลองให้ช้างในสวนสัตว์ที่แคนาดากินลูกกาแฟที่มีเมล็ดกาแฟอยู่ด้วย แต่กาแฟขี้ช้างของคุณเบลคในช่วงแรกนั้น เขาบอกว่า “รสชาติแย่มาก”
ชัางกินเมล็ดกาแฟขี้ออกมา
จากนั้นเขาใช้เงินลงทุนราว 15 ล้านบาท และเวลาอีก 10 ปีในการพัฒนากรรมวิธีเพื่อผลิตกาแฟขี้ช้าง โดยทดลองทั้งที่แคนาดาและศูนย์เลี้ยงช้างในอินโดนีเซีย แต่สุดท้ายได้มาเลือกประเทศไทยเป็นที่ผลิต เพราะเห็นว่ามีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุด เนื่องจากมีศูนย์เลี้ยงช้างและมีหน่วยงานจิตอาสาที่ทำงานอนุรักษ์ช้างหลายแห่ง คุณเบลคตั้งใจไว้แล้วว่า เขาจะมอบเงินรายได้ 8 % จากการผลิตกาแฟนี้ให้กับองค์กรอนุรักษ์ช้าง 
กาแฟขี้ช้าง
โดยปัจจุบันเขาทำงานกับมูลนิธิช้างเอเชียสามเหลี่ยมทองคำ และเริ่มผลิตกาแฟขี้ช้างในประเทศไทยที่ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
คุณเบลคยืนยันว่า เขาเป็นคนแรกที่คิดค้นวิธีผลิตกาแฟขี้ช้างสำเร็จ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและรสชาติที่ติดตลาด ส่วนที่ผลิตภัณฑ์มีราคาแพงนั้น เป็นเพราะกระบวนการผลิตที่ลำบากซับซ้อน ต้องคัดผลกาแฟที่มีคุณภาพให้ช้างกิน โดยตอนนี้ใช้พันธุ์อาราบิก้าของไทย ซึ่งต้องให้ช้างกินถึง 33 กิโลกรัม เพื่อที่จะได้กาแฟขี้ช้างมา 1 กิโลกรัม เวลาช้างกินกาแฟ ช้างจะเคี้ยวด้วย เมล็ดกาแฟบางส่วนก็จะแตกหักหรือถูกย่อยไป ส่วนที่เหลือขับถ่ายออกมานั้นจะเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเมล็ดกาแฟที่สูญหายไปตอนที่ช้างลงไปอาบและขับถ่ายในน้ำ

ส่วนตอนที่ช้างออกไปเดินตามป่าเขานั้น ควาญช้างจะต้องคอยตามเก็บเมล็ดกาแฟที่ช้างขับถ่ายออกมาระหว่างทางด้วย จากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาดและคัดเลือกขนาดเมล็ดกาแฟที่ใหญ่และสมบูรณ์อีกครั้ง

คุณเบลคอธิบายว่าแม้ว่ากาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอิน แต่คาเฟอินในเมล็ดกาแฟไม่กระทบต่อช้าง เพราะในตอนนั้นคาเฟอินยังไม่ออกฤทธิ์ จนกว่าเมล็ดกาแฟจะถูกความร้อนสูงผ่านกระบวนการคั่ว นอกจากนั้นกาแฟอาราบิก้ายังมีปริมาณคาเฟอินน้อยกว่ากาแฟสายพันธุ์อื่นในแต่ละปีมีกาแฟขี้ช้างยี่ห้อ แบลค ไอวอรี คอฟฟี ออกจำหน่ายในปริมาณไม่มาก โดยในปีนี้ผลิตได้ 150 กิโลกรัม ส่วนเมื่อปีที่แล้วผลิตได้ 200 กิโลกรัม 
ตากเมล็ดกาแฟ
ทั้งนี้ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าซึ่งเป็นวัตถุดิบในแต่ละปีก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดปริมาณการผลิตกาแฟขี้ช้างด้วย โดยคุณเบลคเองเป็นผู้คัดเลือกกาแฟอาราบิก้าให้ช้างกิน ขณะนี้กาแฟขี้ช้างของคุณเบลคเป็นกาแฟที่เจาะตลาดบนและจำหน่ายให้กับโรงแรมห้าดาวและภัตตาคารระดับมิชลินสตาร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ และมีส่วนหนึ่งที่จำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ต
คุณเบลคบอกว่า ช้างเป็นสัตว์กินพืช เมื่อเมล็ดกาแฟที่ช้างกินเข้าไปถูกบ่มอยู่ในระบบการย่อยของช้างรวมกับพืชชนิดอื่น ๆ ที่ช้างกิน ทำให้กาแฟที่ผลิตออกมามีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือมีกลิ่นช็อกโกแลต และมีทั้งรสชาติของดาร์ก ช็อกโกแลต, มอลต์, รวมทั้งเครื่องเทศ แต่ไม่มีรสขมบาดปาก คุณเบลคยังบอกด้วยว่า มีคนในแวดวงสังคมชั้นสูงหรือ “ไฮโซ” หลายคนบินไปจากกรุงเทพฯ เพื่อไปดื่มกาแฟขี้ช้างของเขาที่เชียงแสนเป็นประจำ
ชัาง
คุณเบลคบอกว่า กาแฟแบลค ไอวอรี คอฟฟี ของเขา เป็นกาแฟขี้ช้างเพียงเจ้าเดียวในโลก มีนักลงทุนหลายรายทั้งในไทยและต่างประเทศเคยติดต่อมาเพื่อขอร่วมลงทุน หรือขอ
“สูตรลับ” ในกระบวนการผลิต แต่คุณเบลคบอกบีบีซีไทยว่า เขาพอใจกับธุรกิจในขณะนี้ ที่เขาสามารถควบคุมคุณภาพได้ด้วยตนเองและช้างได้รับการดูแลอย่างดี เขายังคงต้องการให้แบลค ไอวอรี คอฟฟี เป็นกาแฟพิเศษที่หายาก มีคุณภาพสูง จึงยังไม่คิดจะเปิดเผยสูตรลับหรือหาผู้ร่วมลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด

รายการบล็อกของฉัน