Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กาแฟและสาระน่ารู้

กาแฟและสาระน่ารู้
ตำนานเกี่ยวกับกาแฟมักเริ่มจากการที่ตาคาลดี (Khaldi) ชายเลี้ยงแพะสังเกตว่า แพะกินผลไม้ป่าชนิดหนึ่งแล้วมันมีอาการคึกคะนอง แกลองทำตามก็ได้ผลทำนองเดียวกัน คนจึงเรียกแกว่า "ตาคาลดี แพะเต้นระบำ" (dancing goat) ตำนานมักจะระบุเวลาว่าตกอยู่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยให้สถานที่ว่าเป็นแถบที่ราบสูงเอธิโอเปียอันเป็นถิ่นกำเนิดต้นไม้ชนิดนี้

การดื่มกินกาแฟนิยมกันในหมู่ชาวอาหรับและมุสลิมโดยวิธีการกินนั้นสันนิษฐานว่า กินกันทั้งเม็ดในตอนต้น แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นการคัดแยกเม็ดที่สุก นำมาตากแล้วขัดเปลือกนอกออกเอาเมล็ดภายในไปคั่วจนแห้ง (เบา) แล้วนำมาตำชงดื่มแต่น้ำ อย่างที่เรามักจะเห็นในกระโจมเต๊นท์ของพวกเบดูอิน-อาหรับจะมีครกไม้ (สำหรับตำเมล็ดกาแฟคั่ว) กับกาสำหรับชงตั้งอยู่ที่เตาไฟกลางเต๊นท์เสมอ

ความนิยมดื่มกาแฟข้ามจากชาวอาหรับไปสู่ชาวยุโรปโดยผ่านนครเวนิซ การที่กาแฟกลายมาเป็นสินค้าทำให้นำมาสู่การผูกขาดห้ามนำพันธุ์ออกนอกโลกของอาหรับ ซึ่งมีนครเมกกะฮ์เป็นเมืองส่งออกในศตวรรษที่ 17

ดัตช์เป็นพวกแรกที่ประสบผลสำเร็จในการขโมยพันธุ์ออกไปจากเมืองมอคคา (Mocha) ในเยเมนเมื่อปลายศตวรรษที่ 17 โดยนำไปปลูกที่หมู่เกาะอาณานิคมของคนในอินโดนีเซีย เช่น ชวา บาหลี สุมาตรา ติมอร์ ชื่อของกาแฟแต่เดิมคือ กะฮ์วา (kahwa) ในภาษาอาหรับและกาฮ์เวห์ (kahveh) ในภาษาตุรกี จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มอคคา ชวา และกัฟฟี (kaffee) ในภาษาดัตช์ เป็นปกติที่เราจะสั่งกาแฟว่า "ขอชวาสักถ้วย" ในยุโรปศตวรรษที่ 18 และในคอมพิวเตอร์ของเรา ก็จะมี icon รูปถ้วยกาแฟควันฉุยแทน java script

ชาติอื่นๆ ในยุโรปประสบผลสำเร็จในการนำพันธุ์กาแฟไปปลูกที่ละตินอเมริกา กลายเป็นชื่อต่างๆ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา โคลัมเบีย ฯลฯ และปลูกกันมากจนกลายเป็นแหล่งผลิตใหญ่สุดในโลกปัจจุบัน

กาแฟมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่ถือว่าสำคัญก็คือ อารบิก้า ซึ่งจะให้รสขม (ไม่เฝื่อนหรือเปรี้ยว) กับโรบัสต้าซึ่งจะให้กลิ่นหอม อาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์กาแฟทุกๆ ชื่อ จะมีสัดส่วนของการผสมหลักสองสายพันธุ์นี้ทั้งนั้น

คนในโลกอาหรับ (ยกเว้นเอเชีย) นิยมดื่มกาแฟที่มีรสขมผสมน้ำตาลเข้มข้น และมีกลิ่นกาแฟไหม้เพราะคั่วไฟแก่ (หลายกรณีมีการเติมเครื่องเทศลงไปด้วย เช่น กระวานบด) ในยุโรปเองก็นิยมดื่มกาแฟเข้มข้นคล้ายกัน ฝรั่งเศสนั้นผสมด้วยนมต้ม 1 ส่วน เรียก ลาเต้ อิตาลีนั้นดื่มเอสเพรสโซ่ กินกันจอกเล็กเข้มข้นแบบพวกอาหรับ แต่หากผสมนมเดือดฟองฟู โรยผงโกโก้และอบเชย เรียก คาปูชิโน่ ส่วนพวกเวียนนาใส่วิปครีมด้วยแล้วเสิร์ฟพร้อมน้ำเย็น 1 แก้ว อเมริกามักถูกดูถูกว่ากินกาแฟรสอ่อน (คั่วด้วยไฟอ่อนปานกลาง) เหมือนน้ำล้างแก้วจนมีกาแฟยี่ห้อใหม่ๆ ออกมา ซึ่งคนนิยมกินกันเพราะชื่อยี่ห้อมากกว่ารสชาติ

คนไทยนั้นโดยทั่วไปกินกาแฟตามคนภาคใต้ ซึ่งน่าจะสืบทอดมาจากพวกมุสลิมเพื่อนบ้าน รสชาติที่ชอบคือ ขม-หวาน-ข้น-มัน ส่วนกาแฟสำเร็จรูปน่าจะนิยมตามอิทธิพลผู้ที่ไปอเมริกาแล้วนำกลับเข้ามาในช่วงทศวรรษ 2500 นี้เอง


ชื่อกาแฟได้ถูกเรียกไปตามภาษาต่างๆ ดังนี้
ภาษาจีน เรียกว่า "เคเฟ"
ภาษาเดนมาร์ค,สวิดิช เรียกว่า "แคฟเฟ"
ภาษาดัชท์ เรียกว่า "คอฟเฟีย"
ภาษาฟินนิส เรียกว่า "เคฟฟี"
ฝรั่งเศส,สเปน,โปรตุเกส เรียกว่า "คาเฟ"
เยอรมนี เรียกว่า "โคฟฟี"
กรีก เรียกว่า "เคฟี"
ฮังการี เรียกว่า คาฟี
อิตาเลียน เรียกว่า "เคฟฟี"
ญี่ปุ่น เรียกว่า "โคฮิ"
ลาติน เรียกว่า "คอฟเฟีย"
เปอร์เซีย เรียกว่า "เคฟี"
โปแลนด์ เรียกว่า "เคฟา"
รูมาเนีย เรียกว่า "เคฟเฟีย"
รัสเซีย เรียกว่า "โคเฟ"
ตุรกี เรียกว่า "เคฟเวฟ"

กาแฟ เป็นภาษาที่มาจากชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ ้ของประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งสมัยนั้นชื่อ เมืองอบิสซีเนีย เชื่อกันว่า เป็นดินแดนต้นกำเนิด ของต้นกาแฟ หลังจากนั้นได้ถูกนำ มาปลูก ในตอนใต้ของอาระเบีย นับเป็นเวลา 500 ปีมาแล้ว

ในช่วงแรกๆ ของประเทศยุโรป ระหว่าง ศตวรรษที่ 16, 17 ในลักษณะของเครื่องดื่มเพื่อการสังสรรค์ Coffee House แห่งแรกเกิด ณ. กรุงลอนดอน จึงเป็นศูนย์กลางของสมาชิกการเมืองในเมืองไทยเรียก “สภากาแฟ”

จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า กาแฟนั้นมีคุณสมบัติ ที่ทางการแพทย์พบว่า เครื่องดื่มประเภทน้ำชากาแฟ เป็น เครื่องดื่ม ที่ไม่มีประโยชน ์เพราะสารคาเฟอีน ใน ชา กาแฟมีผลเสพติดอ่อนๆคือดื่มแล้วจะติด พอเวลา ไม่ได้ดื่มจะหงุดหงิด มือสั่น ใจสั่น สารคาเฟอีนนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสม ของยาประเภท ลดไข้บรรเทาปวดอีกด้วย ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนมากเท่าไร ผลร้ายที่มีต่อร่างกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แล้วกระจายไป ตามอวัยวะ ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ตับ ปอด กล้ามเนื้อต่างๆ และระบบประสาทส่วนกลาง ร่างกายจะใช้เวลากว่า
48 ชั่วโมง ในการสลายคาเฟอีน ถ้าร่างกายได้รับ คาเฟอีนจำนวนสูงประมาณ 3,000 - 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายในระยะอันสั้นได้

การดื่มกาแฟประมาณ 1/2 - 2 1/2 ถ้วย (50 - 200 มิลลิกรัม) ลดความเมื่อยล้าได้ประมาณครึ่งวัน หรือ ดื่มกาแฟขนาด 3 - 7 ถ้วย (200 - 500 มิลลิกรัม) ทำให้มือสั่น กระวนกระวายโกรธง่าย และปวดศรีษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้นเป็นบางแห่ง กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเพิ่มลดอัตราการ เต้นของหัวใจ อันตรายต่อผู้ป่วยที่ดื่มกาแฟมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆ คาเฟอีนมีผล ทำให้ น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงกรดไขมันอิสระสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขมัน ในเลือดสูง ฤทธิ์ของคาเฟอีนเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไม่ทำงาน

สำหรับสตรีมีครรภ์นั้นไม่ควรดื่ม ชา กาแฟ โดยเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคนเราควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับประมาณ 2 ถ้วย ( คือ กาแฟ 1 ถ้วย ใส่ผงกาแฟสำเร็จรูป 2 ช้อนชา น้ำประมาณ 1 ถ้วย)

เวลาที่เหมาะสมจะดื่มชากาแฟนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน บางคนดื่มตอนเช้า เพื่อให้ ลำไส ้กระปรี้กระเปร่า ถ่ายสะดวก แต่จะทำให้หิวเร็วกว่าปกติ เพราะกาแฟจะกระตุ้น การหลั่ง ของน้ำย่อย เพราะฉะนั้นไม่ควรดื่มกาแฟแทนอาหารเช้า และ หันมาดื่มนมแทนจะดีกว่า ถ้าคนที่นอนหลับยาก หรือมี ภาระกิจต้องตื่นแต่เช้า ก็ไม่ควรดื่มกาแฟหลังอาหารเย็นวันนั้น

จากรายงานของคณะเภสัช มหาวิทยาลัยเยล ที่ตีพิมพ์ในวารสาร คลินิกเอนโดคริโนโลยี แอนด์ เมตาโบลิซึ่ม มิถุนายน 2543 แจ้งว่า จากการทดลอง กับกลุ่มอาสาสมัคร 20 คน ที่ได้ดื่มกาแฟ หรือดื่มกาแฟหลอก เป็นเวลา 90 นาที ก่อนมีการใช้แรงกาย พบว่าระดับกล้ามเนื้อไกลโคเจน ที่ใช้วัดการสะสมพลังงานนั้น มีระดับเท่ากันทั้งสองกลุ่ม และในกลุ่มที่ดื่มกาแฟแสดงว่า มีระดับของแลคเตท ที่ใช้วัดความล้าของกล้ามเนื้อ อยู่ในระดับสูงกว่าอีกกลุ่ม

สำหรับกลุ่มที่ดื่มกาแฟนั้น ผลยังแสดงถึงระดับคอร์ติซอลและเอนโดร์ฟินส์ที่สูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง โดยคอร์ติซอลนั้นเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ส่วนเอนโดร์ฟินส์เป็นสารระงับความเจ็บปวด ที่ร่างกายหลั่งออกมาตามธรรมชาติ แต่ในกลุ่มที่ได้ดื่มกาแฟหลอกนั้น ผลปรากฏว่าระดับคอร์ติซอล เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนเอนโดร์ฟินไม่เพิ่มขึ้นเลย

เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

รายการบล็อกของฉัน